รวมคำสั่ง Run ที่ใช้ทั้งหมด
รวมคำสั่ง Run ที่ใช้ทั้งหมด !!
เรียกโปรแกรม Accessibility Options —> access.cpl
เรียกโปรแกรม Add Hardware —> hdwwiz.cpl
เรียกโปรแกรม Add/Remove Programs —> appwiz.cpl
เรียกโปรแกรม Administrative Tools control —> admintools
ตั้งค่า Automatic Updates —> wuaucpl.cpl
เรียกโปรแกรม Bluetooth Transfer Wizard —> fsquirt
เรียกโปรแกรม เครื่องคิดเลข (Calculator) —> calc
เรียกโปรแกรม Certificate Manager —> certmgr.msc
เรียกโปรแกรม Character Map —> charmap
เรียกโปรแกรม ตรวจสอบดิสก์ (Check Disk Utility) —> chkdsk
เรียกดูคลิปบอร์ด (Clipboard Viewer) —> clipbrd
เรียกหน้าต่างดอส (Command Prompt) —> cmd
เรียกโปรแกรม Component Services —> dcomcnfg
เรียกโปรแกรม Computer Management —> compmgmt.msc
เรียกดู/ตั้ง เวลาและวันที่ —> timedate.cpl
เรียกหน้าต่าง Device Manager —> devmgmt.msc
เรียกดูข้อมูล Direct X (Direct X Troubleshooter) —> dxdiag
เรียกโปรแกรม Disk Cleanup Utility —> cleanmgr
เรียกโปรแกรม Disk Defragment —> dfrg.msc
เรียกโปรแกรม Disk Management —> diskmgmt.msc
เรียกโปรแกรม Disk Partition Manager —> diskpart
เรียกหน้าต่าง Display Properties control desktop —> desk.cpl
เรียกหน้าต่าง Display Properties เพื่อปรับสีวินโดวส์ —> control color
เรียกดูโปรแกรมช่วยแก้ไขปัญหา (Dr. Watson) —> drwtsn32
เรียกโปรแกรมตรวจสอบไดร์ฟเวอร์ (Driver Verifier Utility) —> verifier
เรียกดูประวัติการทำงานของเครื่อง (Event Viewer) —> eventvwr.msc
เรียกเครื่องมือตรวจสอบไฟล์ File Signature Verification Tool —> sigverif
เรียกหน้าต่าง Folders Options control —> folders
เรียกโปรแกรมจัดการ Fonts —> control fonts
เปิดไปยังโฟลเดอร์ Fonts (Fonts Folder) —> fonts
เรียกเกม Free Cell —> freecell
เปิดหน้าต่าง Game Controllers —> joy.cpl
เปิดโปรแกรมแก้ไข Group Policy (ใช้กับ XP Home ไม่ได้) —> gpedit.msc
เรียกโปรแกรมสร้างไฟล์ Setup (Iexpress Wizard) —> iexpress
เรียกโปรแกรม Indexing Service —> ciadv.msc
เรียกหน้าต่าง Internet Properties —> inetcpl.cpl
เรียกหน้าต่าง Keyboard Properties —> control keyboard
แก้ไขค่าความปลอดภัย (Local Security Settings) —> secpol.msc
แก้ไขผู้ใช้ (Local Users and Groups) —> lusrmgr.msc
คำสั่ง Log-off —> logoff
เรียกหน้าต่าง Mouse Properties control mouse main.cpl
เรียกหน้าต่าง Network Connections control netconnections —> ncpa.cpl
เรียกหน้าต่าง Network Setup Wizard —> netsetup.cpl
เรียกโปรแกรม Notepad —> notepad
เรียกคีย์บอร์ดบนหน้าจอ (On Screen Keyboard) —> osk
เรียกหน้าต่าง Performance Monitor —> perfmon.msc
เรียกหน้าต่าง Power Options Properties —> powercfg.cpl
เรียกโปรแกรม Private Character Editor —> eudcedit
เรียกหน้าต่าง Regional Settings —> intl.cpl
เรียกหน้าต่าง Registry Editor —> regedit
เรียกโปรแกรม Remote Desktop —> mstsc
เรียกหน้าต่าง Removable Storage —> ntmsmgr.msc
เรียกหน้าต่าง Removable Storage Operator Requests —> ntmsoprq.msc
เรียกดู Policy ที่ตั้งไว้ (ใช้กับ XP Home ไม่ได้) —> rsop.msc
เรียกหน้าต่าง Scanners and Cameras —> sticpl.cpl
เรียกโปรแกรม Scheduled Tasks control —> schedtasks
เรียกหน้าต่าง Security Center —> wscui.cpl
เรียกหน้าต่าง Services —> services.msc
เรียกหน้าต่าง Shared Folders —> fsmgmt.msc
คำสั่ง Shuts Down —> shutdown
เรียกหน้าต่าง Sounds and Audio —> mmsys.cpl
เรียกเกม Spider Solitare —> spider
แก้ไขไฟล์ระบบ (System Configuration Editor) —> sysedit
แก้ไขการตั้งค่าระบบ (System Configuration Utility) —> msconfig
ตรวจสอบระบบด้วย System File Checker Utility (เริ่มทันที) —> sfc /scannow
ตรวจสอบระบบด้วย System File Checker Utility (เริ่มเมื่อบู๊ต) —> sfc /scanonce
เรียกหน้าต่าง System Properties —> sysdm.cpl
เรียกหน้าต่าง Task Manager —> taskmgr
เรียกหน้าต่าง User Account Management —> nusrmgr.cpl
เรียกโปรแกรม Utility Manager —> utilman
เรียกโปรแกรม Windows Firewall —> firewall.cpl
เรียกโปรแกรม Windows Magnifier —> magnify
เรียกหน้าต่าง Windows Management Infrastructure —> wmimgmt.msc
เรียกหน้าต่าง Windows System Security Tool —> syskey
เรียกตัวอัพเดตวินโดวส์ (Windows Update) —> wupdmgr
เรียกโปรแกรม Wordpad —> write
แล้วมันใช้อย่างไร?
start>>>Run>> พิมพ์คำสังลงในช่องได้เลย ครับ
เครดิต Zidobit Mod. by Admin30
หัดสร้างslide show
มาดูภาพกันก่อนน๊ะครับ เดี๋ยวจะบอกว่าทำได้อย่างไร
เป็นอย่างไรบ้างครับ
วีธีการสร้างน๊ะครับ
1 ที่ขาดเสียไม่ได้คือภาพ
2 สมัคร http://www.rockyou.com/
3 upload รูป แล้ว save
4 copy code html มาแปะหน้าเวปได้เลย
สอนน้องให้สร้าง blog
โชคดีที่รู้จัก google และโชคดีที่ google ใจดีให้ bloggerมา มีโอกาสได้ลองทำลองศึกษาและแนะนำให้เพื่อนๆน้องๆได้ลองทำมาดูผลงานของเพื่อนๆน๊ะครับ
>>กลุ่มเภสัชกรจังหวัดสตูล
>>ฝ่ายเภสัช โรงพยาบาลท่าแพ
>>โรงพยาบาลควนโดน น้องซอล
>>สถานีอนามัยเกาะสาหร่าย น้องเดช
>>สถานีอนามัยคลองทราย ปัตตานี พี่โด่ง
>>พี่หนูท้ายเหมือง พังงา
"น้องโอ๋ OJIKA"
...
ลองดูผลงานของเพื่อนๆดูน๊ะครับ
ประโยชน์หลักของ blog
- เป็นศูนย์ความรู้ของหน่วยงานโดยแต่ละคนเขียนบล็อกส่วนตัวไว้ ความรู้ยังคงอยู่ที่หน่วยงานให้คนอื่นๆได้ศึกษา
- ใช้รายงานเหตุการณ์ หรือผลการทำงานว่าแต่ละวันได้ทำอะไรบ้าง
- ใช้ติดตามความคืบหน้าของงาน กรณีมีการทำงานร่วมกัน
- ใช้สำหรับโชวร์ ผลงานส่วนตัว หรือไซต์ส่วนตัว
- ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว / เว็บดาราดัง (เราอาจจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ ใครสักคนก็สามารถทำได้สบาย )
- ใช้ทำเว็บรวมสถานที่ท่องเทียวในตัวจังหวัด หรือในอำเภอเล็กๆ ตามต่างจังหวัด
- .........
จะเอาแผนที่มาโชว์หน้าเวปหรือblogได้อย่างไร
- http://maps.google.com/
- พิมพ์ชื่อสถานที่ที่จะแสดงบนแผนที่ใน ช่องค้นหาแผนที่ เช่น "สตูล โรงพยาบาลควนโดน"
- กดปุ่ม ค้นหา maps เราจะเห็นสถานที่ บนแผนที่ตามต้องการ
- กดปุ่ม link มาที่หน้านี้ เราจะได้ code มา2 ตัว วางลิงก์ใน อีเมล หรือ IM กับ วาง HTML เพื่อฝังในเว็บไซต์เรา copy code html มาวางบนเวปเราจะได้รูปแผนที่ดังข้างล่างนี้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
เห็นมั้ยครับว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิด
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้ ในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 นี้
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการ ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบ วันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้อง เก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
ข้อมูลสำคัญจาก ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๕๐"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น"ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบ คอมพิวเตอร์นั้น"ระบบคอมพิวเตอร์" หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกันโดยได้มีการกำหนด คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ"ผู้ใช้บริการ" หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๘ การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการต้องใช้วิธีการที่มั่นคงปลอดภัย ดังต่อไปนี้
(๑) เก็บในสื่อ (Media) ที่สามารถรักษาความครบถ้วนถูกต้องแท้จริง (Integrity) และระบุตัวบุคคล (Identification) ที่เข้าถึงสื่อดัง กล่าวได้
(๒) มีระบบการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่จัดเก็บ และกำหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อรักษาความน่าเชื่อ ถือของข้อมูล และไม่ให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้เช่น การเก็บไว้ใน Centralized Log Server หรือการทำ Data Archiving หรือทำ Data Hashing เป็นต้น เว้นแต่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่เจ้าของหรือผู้บริหารองค์กร กำหนดให้สามารถเข้า ถึงข้อมูลดังกล่าวได้เช่น ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศขององค์กร (IT Auditor) หรือบุคคลที่องค์กรมอบหมาย เป็นต้น รวมทั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) จัดให้มีผู้มีหน้าที่ประสานงานและให้ข้อมูลกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้การส่งมอบข้อมูลนั้น เป็นไปด้วยความรวดเร็ว
(๔) ในการเก็บข้อมูลจราจรนั้น ต้องสามารถระบุรายละเอียดผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้(Identification and Authentication) เช่น ลักษณะการใช้บริการ Proxy Server, Network AddressTranslation (NAT) หรือ Proxy Cache หรือ Cache Engine หรือบริการ Free Internet หรือ บริการ 1222 หรือ Wi-Fi Hotspot ต้องสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้จริง
(๕) ในกรณีที่ผู้ให้บริการประเภทหนึ่งประเภทใด ในข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ ข้างต้น ได้ให้บริการในนามตนเอง แต่บริการดังกล่าวเป็น บริการที่ใช้ระบบของผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เป็นเหตุให้ผู้ให้บริการในข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ ไม่สามารถรู้ได้ว่า ผู้ใช้บริการที่เข้า มาในระบบนั้นเป็นใคร ผู้ให้บริการ เช่นว่านั้นต้องดำเนินการให้มี วิธีการระบุและยืนยันตัวบุคคล (Identification and Authentication)ของผู้ใช้บริการผ่านบริการของตนเองด้วย
ข้อ ๙ เพื่อให้ข้อมูลจราจรมีความถูกต้องและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงผู้ให้บริการต้องตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์บริการทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล (Stratum 0) โดยผิดพลาดไม่เกิน ๑๐ มิลลิวินาที
แนะนำเครื่องมือที่ใช้เก็บlog file ตามพรบ.คอมฯ
- IPCOP
- Endian Firewall โหลดคู่มือที่จัดทำโดยน้องแนน รพ.ลาดยาว คลิกที่นี่
- Plawan
- syslog-ng คู่มือ
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550