Subscribe:

Ads 468x60px

:: เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานITที่ใช้ในงานด้านสาธารณสุขของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดสตูล

การประชุมถ่ายทอดนโยบายด้านระบบข้อมูล 21 แฟ้ม ปี 55

คิดว่ามีประโยชน์ เลยเอามาฝาก
1. ไฟล์เสียง มี 2 track บรรยาย และช่วงถามตอบ
การประชุมถ่ายทอดนโยบายด้านระบบข้อมูล 21 แฟ้ม ปี 55  วันที่ 10 มกราคม 2555 เจบี หาดใหญ่
2. วีดีโอ


ขอบคุณพีGWAGKไฟล์มาให้เป็นอย่างสูงครับ เป็นประโยชน์มหาศาลต่อข้อมูลสุภาพ และทำให้ผู้ที่เข้ามาดูได้รู้ทิศทางของ ข้อมูลสุขภาพจากผู้ที่ต้องการข้อมูลอย่างแท้จริง ทั้ง สนย.และ สปสช.

ไขปริศนา PP55



กิจกรรมที่ต้องบันทึกในระบบ HIS (JHCIS,Hos,Mitnet,xp) เพื่อให้ออกใน 21 แฟ้ม หากเราทำได้ลองเอาเลข 58.86 * ประขากรในเขตรับผิดชอบ ตาม slide ด้านล่าง


ร้อยทั้งร้อยในสตูลผมคิดว่ายังไม่มีสถานบริการไหนบันทึกกิจกรรมที่ว่านี้ ที่เรียกว่าไขปริศนาเพราะว่า เป็นเรื่องที่คิดว่าใหม่ สปสช. ใช้วิธีเอาข้อมูลจากรหัสโรคที่อยู่ใน op แต่ใช้รหัสที่เป็น pp ซึ่งใน 18 แฟ้มเดิม คำว่า PP หมายถึง EPI ANC FP MCH PP แต่ปี 55 ปรับแนวความคิดได้เลย เพราะฉนั้น วิธีการบันทึกจะต้องบันทึก แบบ OP packageนะครับ หมายถึง PERSON SERVICE DIAG ส่วน Addon DRUG หรือ Proced ห้ามมีใน record ที่มี SEQ นั้นเด้ดขาด
ทำไมถึงห้ามมี ?? ย่อมมีคนถาม ก็ต้องขอบอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่อง PP (ส่งเสริมป้องกัน) หากมีเรื่องยาหรือหัตถการเข้ามาเกี่ยวข้อง แน่นอนมันต้องเป็น เรื่องของ การรักษา ซึ่งเป็นเรื่อง OP ไม่ใช่ PP
สำหรับ สไลด์สุดท้าย ก่อนการบันทึก ในระบบ HIS ให้นึกหลัก 4R5Z ก่อนเสมอ
และ การคำนึงถึง อายุของประชากรตามช่วงกิจกรรม ตามสไลด์ลำดับ 2 และ EPI ANC FP MCH PP ไม่ควรมี รหัสใน แฟ้ม diag  เพราะ สปสช.มองว่าเป็นการซ้ำซ้อน และมีโอกาสโดน pendingสูง 
สรุปเรื่อง pp อีกครั้งนะครับ
 1.มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนตามสไลด์ 2 เป็นกลุ่มๆ กันหลุด บางกิจกรรมนึกถึงคำว่า 1 คน 1 ครั้งต่อปี
2.ทำมาตราฐานการบันทึกตาม สไลด์ 4 ว่ากิจกรรมนี้ บันทึกรหัสโรคอะไร พยายามเปรียบเทียบกับเป้าหมายเรื่อย เอารหัสโรคที่ออกจาก diag มาพิจารณาดูบ่อยๆว่าครอบคลุม เพียงพอหรือยัง
3 เรื่องมะเร็งปากมดลูกยังใช้วิธีเดิมอยู่นะครับ ไม่รวมในวิธีนี้
เพราะฉนั้น pp 55 มองเป็น 21 แฟ้มคือ pp เดิม(EPI ANC FP MCH PP ) + PP ที่แฝงอยู่ใน OP ตามกิจกรรมที่ต้องบันทึก (4R5Z) + cirvical screening
ลืมอีกประเด็นคือ การscreen HTDM  หล่ะ ปี 55 ทำอย่างไรก็ได้เพื่อมันจะอยู่ใน 21 แฟ้มที่ชื่อ screen 1 คน 1 ครั้ง ต่อปีและให้เอาเข้าไปใน provis ให้ได้
ขอให้สนุกกับการ บันทึกข้อมูลปี 55 นะครับ
ยังตกอีกประเด็นนึงครับ
หญิงตั้งครรภ์ และ หลังคลอด  ANC PNC และ FP   ตาม slide 2
 เราเคยทราบหรือไม่ว่่า สปสช.เค้าคิดอย่างไร
ANC ประเด็นคือ น้อยกว่า 12  week ครั้งแรก  UC และ สิทธิ์อื่นๆ ประกันสังคมที่ส่งเงิน สมทบไม่ครบ 7 เดือนก็ได้เยอะหน่อย (วันฝากครรภ์ครั้งแรก - ประจำเดือนครั้งสุดท้าย )  ควรเอาข้มูลเก่า(แฟ้ม ANC)มาวิเคราะห์และวางแผนการทำงานเรียนรู้วิธีคิดของ สปสช.ร่วมกับผู้รับผิดชอบงาน
PNC ก็ภายใน 6 สัปดาห์ (MCH กะ PP) วิเคราห์จากการตวจ opindiv data ก็คงจะพอเดาออกนะครับ (วันตรวจหลังคลอดครั้งที่ 1 - วันคลอด)
FP นี่เรื่อง สิทธิอื่นที่ มิใช่ UC อันนี่เท่าที่สอยมาเงินน้อยสุดเลยไม่น่าสนใจ
แต่หามเอาข้มูลประชากรมาเรียงตาม อายุ แล้ว เอากิจกรรมใส่เข้าไป ก็จะเห็นความคลอบคุมของ กิจกรรม ตามอายุ และสามารถตอบได้ว่า ประชาชนได้อะไร จากระบบ บริการ pp เหล่านี้
และผู้ให้บริการคงมีความสุขที่ได้ ผลงาน และ ผลตอบแทนของสปสช. ต่อสถานบริการที่ทำตามกติกา
หวังว่า ผู้ที่เข้ามาอ่าน คงได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย ตามมุมองของผมนะครับ
 เพิ่มเติม เพราะคิดไว้อยู่ว่า ต้องมีคนถามต่อว่าแล้วจะคียอย่างไรหละ?
มีตัวอย่าง การคีย์ข้อมูลใน JHCIS  เพื่อให้ได้แฟ้ม diag มีข้อมูลการให้รหัสโรค การคัดกรองโรคซึมเศร้า(Z13.3) หรือเรียกZ133  http://dl.dropbox.com/u/39217612/cmpho_it.pdf  ก็เครดิตลุงหนวดเจ้าเก่า ส่วนเจ้าของไฟล์คือ สสจเชียงใหม่ 
     หลักการ  สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อน คีย์ให้กับใคร ก็ต้องนึกย้อนกลับไปว่า ทะเบียนคัดกรองซึมเศร้า ทำในประชากรกลุ่ม > 30 และหรือ > 60  เพื่อไม่ให้พลาดกลุ่มเป้าหมายนะครับ และในคีย์ข้มูล ซัก 5 คนก่อนแล้วลงส่งออก 21 แฟ้ม เปิดหา แฟ้มที่ชื่อ diag ลองเปิดดูซักนิดกะ notepad ว่า มีคำว่า Z133 แ้ล้วหรือยัง แล้วที่มี ครบ 5 คนไหม (Ctrl+f) พิมพ์ Z133 ค้นหา >>ค้นหาถัดไป จนครบ 5 คน เท่านี้ก็จะไม่ตกหล่นแล้วครับ อย่าลืมทำให้ครอบคลุมนะครับ สำหรับค่ายอื่น และ การคีย์ อีก 4 Z กะ อีก 4R ก็ใช้หลักการเดียวกันกับ JHCIS
ถ้ามีอะไรใหม่ๆเกียวกับเรื่องนี้ก็ขอเขียนไปในบล้อคหัวข้อนี้เรื่อยๆนะครับ
เพิ่มเติม 25/01/2555 (ก้อบปี้มาจากลุงหนวดหมออนามัยเจ้าเก่า)
การลงรหัส ICD10 เพื่อให้รับค่าตอบแทน ส่งเสริมป้องกันโรค สปสช2555 ดังนี้
การประเมินพัฒนาการในเด็ก
(ตามแนวทางของกรมอนามัย) = Z 001 การตรวจสุขภาพเด็กตามปกติ

การคัดกรองความเสี่ยงต่อโรค(ในรายที่ทำ confirm screening)
... - Metabolic (HT / อ้วน) = Z 138 การตรวจคัดกรองพิเศษสำหรับโรคและความผิดปกติอื่นที่ระบุรายละเอียด ความผิดปกติของฟัน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิก ไม่รวม โรคเบาหวาน
- DM = Z 131 การตรวจคัดกรองพิเศษสำหรับโรคเบาหวาน

Pre DM
(ค่า FBS ระหว่าง 100 -125 mg/dl
หรือ Postpandial blood glucose ระหว่าง 140-199 mg/dl )
R 730 ผลการตรวจสอบการทนต่อกลูโคสผิดปกติ
R731 ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารผิดปกติ
R739 ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ระบุรายละเอียด
Pre HT
(Pre HT คือค่า Systolic BP ระหว่าง 120-139 mmHg
หรือ Diastolic BP ระหว่าง 80-89 mmHg ) = R 030 วัดความดันโลหิตได้สูง ไม่มีการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม = Z 713 การให้คำปรึกษาและการเฝ้าระวังด้านอาหาร

การคัดกรองภาวะซึมเศร้า = Z 133 การตรวจคัดกรองพิเศษสำหรับความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม
ดูเพิ่มเติม


รายงานประจำเดือน ทดลองนะครับ

สอบถามปัญหา

บันทึกกันลืม ลินุกซ์ ของ อ.วิภัทร

จากอ.วิภทร ชมรมopensource มอ.

thaiopensource.org | เปิดโลกอิสระกับโอเพนซอร์ส blogs